top of page
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
1.png

SOCIAL STUDIES 

4.png

              เป็นศาสตร์บูรณาการทางด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนักการศึกษาชาวอเมริกันเป็นผู้คิดค้นและให้นิยามของสังคมศึกษาเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการรู้จักอดทน อดกลั้น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและโลกต่อไป 

ประกอบไปด้วยทั้งหมด 5 สาระ ได้เก่ พระพุทธศาสนา หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์

5.png
ไม่มีชื่อ 578_20220504194117.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
5.png
21.png
16.png

ครูสายป่าน

288901240_5974710985879207_6661725267376068301_n.jpeg
288901240_5974710985879207_6661725267376068301_n.jpeg
7.png
5.png
5.png
5.png

รู้จักเครื่องมือสอนคิด
Thinking Tools

การเรียนการสอนแบบ 4 Step 

10 เครื่องมือส่งเสริมการคิด

4.png

  สาระที่ 1 พระพุทธศาสนา  

เป็นสาระที่เน้นความเข้าใจประวัติ ความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ และสามารถนำหลักธรรมของศาสนา มาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน ยึดมั่นในศีลธรรม การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม และศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

7.png
6.png

  สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง  

        เป็นสาระที่เน้นการปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุขมีความเข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

  สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์  

          เป็นสาระที่เน้นความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจอย่างพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ความสัมพันธ์ของระบบ เศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

4.png
8.png

  สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์  

       เป็นสาระที่สร้างความเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นเข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย

  สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์  

          เป็นสาระที่เน้นความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจอย่างพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ความสัมพันธ์ของระบบ เศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

5.png
bottom of page